|
![]() |
:: บทเพลงประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต :: เพลงที่ 15 ข้อวัตรปฏิปทาที่พาดำเนิน |
ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที่ ๑๕ ทำนอง : มอญดูดาว พระอาจารย์มั่นท่านปฏิบัติดี ตื่นตี ๓ ตี ๔ แล้วเข้าที่ทางจงกรม เช้าออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม พอฉันเสร็จเดินจงกรมและทำเพียรภาวนา ถึงเที่ยงพักพอรื่นรมย์ แล้วเดินจงกรมใหม่จนได้เวลา ๑๖ นาฬิกาปัดกวาดวัดวา อาศรมแล้วสรงน้ำชำระกาย -ดนตรี- นิดหน่อย ถ้ามีญาติโยมก็อบรมในยามเย็น ส่วนพระและเณรนั้น ๑ ทุ่มเป็นต้นไป คอยให้โอวาทสอนอุบาย ให้มีหลักใจบำเพ็ญภาวนา ทั้งยืน-เดิน-นอน-นั่ง ทุกเวลาคอยระวังกิเลสตัณหา แม้นมีเหตุเภทภัยมาในป่าดงพงหนา สละชีวาอย่ายอมสละธรรม -ดนตรี- ศรัทธาวิริยะ-สติสมาธิปัญญา คือพลธรรม ๕ ท่านนำมาสั่งสอน ควรทำให้แน่นอย่าแคลนคลอน จะพ้นทุกข์แน่นอนจงหมั่นกระทำ พระพุทธองค์ก็ทรงพร่ำ ตรัสไว้จงจำน้อมนำใส่ใจ อย่าแพ้กิเลสทั้งหลาย อย่านึกพรั่นหวั่นไหวท่านเน้นให้ชนะใจตน -ดนตรี- นิดหน่อย ส่วนพวกนาคนั้นก็มีมากมาย เหล่าเทพทั่วไปทั้งเบื้องล่างเบื้องบน ท่านคอยต้อนรับไม่สับสน แบ่งเวลาไม่ปะปนเป็นระยะไป ๕ ทุ่มเที่ยงคืนตี ๑ ท่านเมตตาคำนึงถึงเทพทั้งหลาย มาฟังธรรมกันมากมาย หากจะมาเวลาไหน ท่านรู้ได้ล่วงหน้าเสมอ -ดนตรี- -พูด- บรรยาย ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที่ ๑๕ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีความรู้ความละเอียดแห่งปรจิตวิชา คือการกำหนดรู้ใจของผู้อื่นและเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ มาแต่สมัยอยู่ถ้ำสาริกาตลอดมาและมีความชำนาญกว้างขวางขึ้นเป็นลำดับ อาจจะพูดได้ว่าแทบไม่มีประมาณขอบเขตก็ว่าได้ ขณะที่ท่านแสดงธรรมเพื่ออบรมพระเณรอยู่นั้น ถ้ามีรายใดคิดเปะปะออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง ขณะนั้นแลเป็นต้องได้เรื่องและจะได้ยินเสียงเทศน์แปลกๆ ออกมาทันที ซึ่งก็ตรงกับความคิดที่ไม่มีสติของรายนั้นๆ ทุกครั้ง เพียงแต่ท่านไม่ระบุชื่อออกมาเท่านั้น เพราะท่านยังจำเหตุการณ์เรื่องขรัวตาที่ชายเขาถ้ำสาริกาไม่ลืมเลือน ธรรมที่ท่านสั่งสอนอย่างอาจหาญและออกหน้าออกตาแก่บรรดาศิษย์อยู่เสมอได้แก่ พลธรรม ๕ คือ ศรัทธา-วิริยะ-สติ-สมาธิ-ปัญญา โดยให้เหตุผลว่า อ.มั่น: ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนล่มจม ความเจริญก้าวหน้าจะเกิดไปโดย ลำดับ ธรรมเหล่านี้คือเครื่องมือเตรียมพร้อม ในการรบพุ่งชิงชัยระหว่างกิเลสกับธรรมเพื่อความ ชนะเลิศ คือวิมุตติพระนิพพานอันเป็นหลักเขตแดนมหาชัยที่ปรารถนาที่พระองค์ประทานไว้เพื่อ โลกและเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ส่วนญาติโยมนั้นท่านยกธรรมมาแสดงให้พอเหมาะกับภูมิของผู้มาฟัง มีทาน-ศีล-ภาวนาเป็นต้น อำนาจแห่งการให้ทานทำให้ผู้มีใจชอบบริจาค เกิดความเคยชินต่อนิสัย จนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์บันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่กำเนิดที่อยู่นั้น ด้านศีลและภาวนา ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงได้อย่างซาบซึ้งไพเราะจับใจยิ่งนักประกอบกับท่านปฏิบัติได้ดีจริงๆ รู้จริง-เห็นจริง ย่อมเป็นสิ่งยืนยันทำให้ผู้มารับฟังเกิดความยึดมั่นประทับใจอย่างสุดซึ้งไปตามๆ กัน ส่วนเหล่าเทพทั้งหลาย ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเหล่าพญานาค จะมาฟังธรรมท่านในคืนใด ตกตอนเย็นๆ ท่านจะรู้ล่วงหน้าก่อนแล้วทุกครั้งไป และต้องคอยเตรียมตัวต้อนรับล่วงหน้าเช่นกัน |
![]() |
Copyright All Rights Reserved. |