
=======================
หลวงตาพระมหาบัวฯ กล่าวว่า
"การสถาปนา หรือการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชนี้ เป็นภาระหน้าที่และพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องก้าวก่ายหรือลุกลามแบบต่างๆ ดังที่ปรากฏอยู่เวลานี้เลย ทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง และ ทรงทำหน้าที่ต่อสมเด็จพระสังฆราชก็เป็นพระภาระของพระองค์เอง หรือจะทรงรับสั่งผู้อื่นผู้ใดที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องของพระองค์เอง ไม่เกี่ยวข้องกับผู้หนึ่งผู้ใดที่จะเข้ามาก้าวก่าย นี่เรื่องประเพณีเป็นมาอย่างนี้"
::::::::::::::::::::::::::::::
จะเห็นได้ว่า "ขนบประเพณีเดิม" ไม่ว่าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช(อดีตถึงพ.ศ.๒๔๗๕) หรือในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (พ.ศ.๒๔๗๕ ถึงปัจจุบัน) ก็ตาม
ทั้งสังฆมณฑลและประชาชนต่างมีความจงรักภักดีต่อ "พระมหากษัตริย์" ตลอดมา ไม่เคยมีบุคคลใดบังอาจก้าวล่วงมาก่อน จึงปรากฏ การสถาปนาพระสังฆราชตามภาพ (ปรับปรุงอีกครั้ง)
====================
เกร็ดความรู้
(อักขรวิธี-ตัวสะกดตามต้นฉบับ)
====================
บันทึกเกร็ดประวัติเกี่ยวกับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงบันทึกไว้จากคำบอกเล่าของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) มีความ ตอนหนึ่งดังนี้
....ตั้งแต่รัชชกาลที่ ๔ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาเถระที่เปนพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของพระองค์ ถ้าไม่มี ก็ไม่ทรงตั้ง ในรัชชกาลที่ ๔ ทรงตั้งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เพราะทรงนับถือเปนพระอาจารย์ เมื่อกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ไม่ได้ทรงตั้งอีกเลยตลอดรัชชกาล
ในรัชชกาลที่ ๕ จะทรงตั้งกรมสมเด็จพระยาปวเรศฯ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ แต่กรมสมเด็จฯ ทรงขอผัดให้ไหว้พระสวดมนต์ไปก่อน จนจวนจะสิ้นพระชนม์จึงทรงรับมหาสมณุตฯ ทรงรับประมาณเกือบปีหรือปีกว่า ก็สิ้นพระชนม์ รัชชกาลที่ ๕ ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราชสา ซึ่งเปนพระกรรมวาจาจารย์ (พระศพกรมสมเด็จฯ เอาไว้นานจนสมเด็จพระสังฆราชสาสิ้นพระชนม์ลงอีก เข้าพระเมรุเดียวกับเจ้านายอีกหลายพระองค์) เมื่อสมเด็จพระสังฆราชสาสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ไม่ได้ทรงตั้งอีกตลอดรัชชกาล สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงรับมหาสมณุตฯ
ในรัชชกาลที่ ๖ เพราะทรงเปนพระอุปัชฌาย์ในรัชชกาลที่ ๖....
(ที่มา : บอร์ดสมเด็จพระสังฆราชไทย )
========================
คณะศิษย์ฯ จึงขอให้ยุติการก้าวล่วงต่อพระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาด
ขอให้ปฏิบัติตาม "ขนบประเพณีเดิม" ซึ่งสอดคล้องตามหลักพระธรรมวินัย อย่างสมบูรณ์
หากมีผู้สนับสนุนวิธีอื่นใดนอกเหนือจากแนวทางนี้ย่อมเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่า
ผู้นั้นถือเป็น "โมฆะบุรุษ" ผู้กำลังก้าวเดินตามรอยแห่ง "เทวทัต"
จากแหล่งข้อมูลที่ได้รับมายังไม่ละเอียดเพียงพอ
จึงค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูงขึ้น และขอปรับปรุงตามภาพต่อไปนี้
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งพระสังฆราชมีการว่างเว้นยาวนานถึง ๒ วาระ คือ
๑) วาระที่ ๑
สมัย ร.๔ ร.๕ ว่างเว้นนานถึง ๓๘ ปี โดยภายหลังสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๗สิ้นพระชนม์ในปี ๒๓๙๖ ร.๔ มิได้
สถาปนาพระสังฆราชอีกตลอดรัชสมัย (รวมว่างเว้นยาวนาน ๑๕ ปี)
ต่อมา ร.๕ (ครองราชย์ในปี ๒๔๑๑) ทรงปรารภจะสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ขึ้นเป็นสมเด็จ
พระสังฆราชองค์ที่ ๘ แต่พระมหาเถระรูปดังกล่าวไม่ทรงรับ ทรงถ่อมตนด้วยพิจารณาเห็นว่า ตนเองยังไม่เหมาะสม ร.๕ จึงโปรด
เลื่อนพระอิสริยยศและถวายพระเกียรติยศสูงสุดเท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในที่สุดอีก ๒๓ ปี ร.๕ ทรงตัดสินพระทัยสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ ในปี ๒๔๓๔ (รวมว่างเว้นยาวนาน
อีก ๒๓ ปี) และด้วยความมักน้อยของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชในวาระนี้จึงว่างเว้นต่อเนื่อง
รวมกันยาวนานถึง ๓๘ ปี
๒) วาระที่ ๒
โดยภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ ร.๕ มิได้สถาปนาพระองค์ใหม่อีกเลยตลอดรัชสมัย
(รวมว่างเว้นยาวนาน ๑๑ ปี)
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ดังนั้น คำกล่าวขององค์หลวงตาฯ จึงถูกต้องตาม ขนบประเพณีเดิม ของชาติไทยเราที่พระมหากษัตริย์ทรงมี
พระราชอำนาจในการสถาปนาพระสังฆราชอย่างสมบูรณ์ ไม่มีผู้ใดบังอาจแทรกแซงหรือบีบบังคับพระทัยของพระองค์แต่อย่างใด
การบีบบังคับให้พระมหากษัตริย์ต้องสถาปนาตาม สมณศักดิ์สูงสุด เท่านั้น ห้ามวินิจฉัยเป็นอื่น จึงถือเป็น
การก้าวล่วงต่อพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรงที่สุด ซึ่งองค์หลวงตาฯ คณะสงฆ์กรรมฐาน ตลอดจนคณะศิษย์ฯ ย่อมไม่อาจยอมรับสิ่งผิดทำนองคลองธรรมนี้ได้


>>ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ชาวไทยต้องทราบ<<
1. ประเพณีเดิมในการสถาปนาสังฆราช แท้จริงเป็นอย่างไร
2. พระราชอำนาจก่อนปี 2535 กับภายหลังปี 2535 แท้จริงแตกต่างกันหรือไม่
3. ก่อนปี 2535 กับหลังปี 2535 ผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาด แท้จริงแล้วแตกต่างกันหรือไม่
4. ตำแหน่งสังฆราช แท้จริงแล้วว่างเว้นได้หรือไม่ เป็นอำนาจของใคร
5. มส.ก่อนปี 2535 กับหลังปี 2535 แท้จริงแล้วปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันหรือไม่
ทั้งนี้ เพื่อท่านจะได้ไม่ถูกต้มตุ๋นหลอกลวงจากการได้รับข้อมูลอันเป็นเท็จ
ท่านจะสามารถตัดสินใจได้ด้วยความเป็นธรรม ไม่หลงผิดคิดสร้างบาปกรรมแก่ตน
และจะซาบซึ้งในธรรมคำสอนขององค์หลวงตาฯ ยิ่งๆ ขึ้นไป
= = = = = = = = = = ==



สังคมกำลังเกิดความสับสนเกี่ยวกับ "ประเพณีเดิม" ในการสถาปนา
พระสังฆราชว่ามีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมอย่างไร?
.
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายปัจจุบัน (พรบ.สงฆ์ 2535)
เมื่อเปรียบกับตาม "ประเพณีเดิม" เหมือนกันหรือไม่?
.
ด้วยเหตุนี้หรือไม่ องค์หลวงตาฯ จึงสอนให้เรายึดถือ "ประเพณีเดิม" เทียบเท่า "กฎของชาติ"
และยังเมตตาเตือนศิษย์ด้วยว่า ข้อกฎหมาย(พรบ.สงฆ์ 2535) ที่ขัดต่อ
"ประเพณีเดิม" ไม่ให้ยอมรับ ไม่ให้ยึดถือ ไม่มีผลใดๆ (โมฆะ)
(รายละเอียดแสดงดังภาพ)
vvvvvvv






















ขอขอบคุณ : ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ แนวหน้า และไทยโพสต์
การถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระเจ้าอยู่หัวฯ กรณีนี้นั้น หากจะทำให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายได้จริง
ทั้ง "รัฐบาล" และ "สมาชิกรัฐสภา" จะต้องมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับปัจจุบันในมาตรา ๗ และ ๑๐ ก่อน เพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
จึงขอนำข้อเสนอของคณะศิษย์ฯ มาเปิดเผยต่อสาธารณชนให้เห็นรูปธรรมยิ่งขึ้น (เฉพาะในมาตรา ๗ ก่อน) ดังนี้
>>>>>>>>
**หมายเหตุ
:: เหตุผลที่ปรับปรุงแก้ไข ::
- ๑. เพื่อถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช มิให้ผู้ใดก้าวล่วงหรือแทรกแซงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง สถาบันศาสนา กับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสืบทอดต่อเนื่องกันมานับพันปีถือเป็นโบราณราชประเพณีอันดีงาม
- ๒. เพื่อให้พระราชวินิจฉัยในคุณสมบัติของสมเด็จพระราชาคณะเป็นไปโดยอิสระตามความเหมาะสม มิให้เป็นเงื่อนไขที่เจาะจงตายตัวอันเป็นการบีบบังคับพระราชหฤทัยอย่างมิบังควร
- ๓. เพื่อมิให้คำนึงถึง อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ยิ่งกว่า อาวุโสโดยพรรษา และ คุณธรรม รวมถึงคุณสมบัติประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย
- ๔. เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุหลงใหลฝักใฝ่ในลาภยศหรือสมณศักดิ์ยิ่งกว่าการมุ่งหน้าบำเพ็ญสมณธรรม และป้องกันมิให้อำนาจทางการเมืองเข้าแทรกแซงการสถาปนา
- ๕. เพื่อมิให้สังฆมณฑลและชาวพุทธเกิดความคาดหวังประชันแข่งในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอันเป็นเหตุนำไปสู่ความขัดแย้งแตกสามัคคีซึ่งกันและกัน
>>>>>>>>
========
**ขอเชิญร่วมลงชื่อถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระมหากษัตริย์ ในการสถาปนาและปฏิบัติต่อสมเด็จพระสังฆราช เพื่อการธำรงไว้ซึ่งหลักพระธรรมวินัยและโบราณราชพระเพณีอันดีงามสืบไป
=>ท่านสามารถร่วมลงชื่อออนไลน์ได้ คลิกที่นี่ : http://luangta.com/form/rm/
=>ดาวน์โหลดแบบฟอร์มถวายคืนพระราชอำนาจได้ในลิงค์นี้ : https://luangta.com/info/news_text.php?cginews_id=656&type
=======



================================















==========================================






=======================
แถลงการณ์ที่ ๑/๒๕๕๙ :: พระราชอำนาจ(ที่แท้จริง)ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช





=======================
คณะศิษย์ฯ ยื่นหนังสือต่อรัฐบาล เมื่อ ๒๐ ส.ค. ๔๗ ตามมติประชาชน ๑,๗๑๘,๓๙๙ รายชื่อ เพื่อถวายคืนพระราชอำนาจ
องค์หลวงตาพระมหาบัวฯ มีความเห็นอย่างไร?
กรณีประชาชน 1.7 ล้านรายชื่อ ร่วมแสดงประชามติเพื่อถวายคืนพระราชอำนาจแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
====================
รับชมคลิป คลิก
(เมตตาแสดงธรรมเพื่อกรณีนี้โดยเฉพาะ)
: 22 กรกฎาคม 2547
: ณ สวนแสงธรรม กรุงเทพมหานคร
====================

คณะศิษย์องค์หลวงตาพระมหาบัวฯ จำนวน ๑,๗๑๘,๓๙๙ รายชื่อ ได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายโดยเร่งด่วน เพื่อมิให้มีบทบัญญัติที่ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัยและต่อราชประเพณีอีกต่อไป
คณะศิษย์ฯ จึงยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐบาลเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อการถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสถาปนาและปฏิบัติต่อสมเด็จพระสังฆราชในทุกกรณี
โดยขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้กลับคืนไปใช้ข้อปฏิบัติตามหลักการเดิมใน พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งจะได้ไม่ขัดแย้งต่อหลักพระธรรมวินัยและหลักโบราณราชประเพณีอีกต่อไป
คลิปเหตุการณ์ฉบับสมบูรณ์ :: คลิก
คลิปเหตุการณ์บางส่วน :: คลิก







|