 |


  
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
 |
|

คำถาม
|
 |
โดย : เชษฐ ถามเมื่อวันที่
30 ต.ค. 2546 |
ภาวนาแล้วต้องบังคับจิตออกคิด
กราบรบกวนเรียนถามหลวงตาดังนี้ครับ 1.ผมภาวนาโดยใช้อานาปานสติบริกรรมพุธโธกำกับลมหายใจ เมื่อภาวนาไปเรื่อยๆจิตสงบลงและรู้สึกเป็นสุขขึ้นไปเรื่อยๆ และยังบริกรรมภาวนาต่อไป จนกระทั่งความสุขหายไป ไม่สุข ไม่ทุกข์ จะว่าเฉยๆก็ไม่ใช่ ความคิดปรุงต่างๆไม่มีเลย โดยที่ผมภาวนาในอิริยาบถต่าง ๆ เป็นเวลาทั้งวันจึงเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมาผมภาวนาถูกไหมครับ ผมบังคับจิตออกคิดรู้สึกว่าฝืนมาก อย่างนี้เรียกว่าจิตอิ่มตัวใช่หรือไม่ครับ ผมต้องทำอย่างไรต่อไป
|
คำตอบ |
 |
เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2546 |
เรียนคุณเชษฐ หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาธรรมของคุณให้ เมื่อเช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้
หลวงตา : ถูก ถูกต้องแล้ว ให้เป็นอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งดียิ่งถูกมากกว่านี้อีก อันนี้ถูกขั้นหนึ่ง ขั้นถูกกว่านี้ยังมีอีก เอ้า ขยับหาให้เห็นให้เจอ เอ้า ว่าไป
โยม : รายนี้เขาบอกต่อไปนะครับว่า ผมบังคับจิตออกคิดรู้สึกว่าฝืนมาก
หลวงตา : อย่าบังคับ มันจะอยู่อย่างนั้นให้มันอยู่เสียก่อน มันไม่อยากคิดอย่าคิด ถ้าคิดให้คิดไปทางปัญญาพิจารณาเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ สกลกาย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะ อสุภัง ให้มันคิดไปอย่างนั้นอย่าคิดไปอย่างอื่นเข้าใจไหม มันไม่อยากคิด เป็นจิตที่มีสมาธิเต็มที่มีแต่ความสงบแล้วความคิดต่าง ๆ นี้กวนใจไม่อยากคิด ทีนี้เวลาเราเรียนรู้มันแล้วไม่อยากคิด แล้วอะไร ๆ ไม่อยากคิดให้คิดทางปัญญาเข้าใจไหม นั่น ทางออกของมันมี เราไม่อยากคิดเฉย ๆ นั้น คือว่ามันกวนสมาธินี่เรียกว่า จิตติดความสงบแล้วไม่มีทางออก ต่อจากนั้นมันไม่มีทางออก เอาความคิดทางด้านปัญญาให้มันคิดให้มันออกทางนี้ ทีนี้เปิดละที่นี่เปิดเรื่อย เข้าใจ
โยม : ครับหลวงตาก็ได้ตอบไปแล้ว อันนี้เขาบอกว่า บังคับจิตออกคิดรู้สึกว่าฝืนมาก อย่างนี้เรียกว่า จิตอิ่มตัวใช่หรือไม่ ผมจะต้องทำอย่างไรต่อไป
หลวงตา : ใช้ปัญญา อย่างว่าจิตอิ่มตัวให้ใช้ปัญญา เข้ากันได้แล้ว จิตอิ่มตัวคือมันไม่หิวอารมณ์ ความอยากดูรูปอยากฟังเสียงอะไรต่าง ๆ อยาก ๆ ๆ มันหิวอารมณ์ ทีนี้มันไม่อยากมันอยู่ด้วยความสงบอิ่มอารมณ์ เวลาจะคิดปรุงอะไรมันรำคาญ จึงให้คิดทางด้านปัญญา ถึงเวลาที่ควรจะคิดให้คิดทางด้านปัญญา ถึงเวลาจะสงบก็ให้สงบเข้าสมาธิตามเดิม เวลาออกคิดให้ออกทางด้านปัญญาเข้าใจไหม พิจารณาอย่างที่ว่า ปัญญาเท่านั้นก็เข้าใจแล้ว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา แยกธาตุแยกขันธ์ดังที่ว่า
(ทีมงานขออนุโมทนาในธรรมปฏิบัติของคุณมา ณ ที่นี้ และโปรดหาอ่านธรรมะหลวงตาเพิ่มเติมขั้นธรรมต่อไปได้ในเว็บไซด์นี้)
|
|
|