 |


  
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
 |
|

คำถาม
|
 |
โดย : พิม ถามเมื่อวันที่
23 พ.ย. 2546 |
สมถะภาวนามีจุดมุ่งหมายทำให้จิตมีสติ มีสมาธิ
การทำสมถะภาวนามีจุดมุ่งหมายทำให้ตัวจิตมีสติมีความสงบ มีสมาธิเพื่อจะได้ใช้ในการทำวิปัสนาต่อไป การทำวิปัสนามีจุดม่งหมายต้องการให้ตัวจิตเห็นรูปธรรม นามธรรม ตรงตามความเป็นจริง การเห็นรูปธรรมตรงความเป็นจริงคือเห็นมีความเป็นธาตุ มีความเป็นไตรลักษณ์ การเห็นนามธรรมตรงตามความเป็นจริงคือเห็นเป็นนามธาตุ เห็นเป็นไตรลักษณ์ไม่ใช่จิต รูปธรรมนามธรรมก็มีแสดงเกิดแล้วก็ดับตามความเป็นจริง แม้จิตจะมาเห็นความจริงหรือจิตยังไม่มาเห็นความจริงทั้งรูปธรรมและนามธรรมก็แสดงความจริงอยู่อย่างนั้น เมื่อตัวจิตมาเห็นความจริงอย่างนั้นแล้วจิตจะมีความรู้ไม่เข้าไปยึดรูปธรรมนามธรรม แต่ในมุมกลับจิตก็ยังติดอย่กับความรู้ที่ไปรู้ความจริงที่ไปรู้รูปธรรมนามธรรม ดังนั้นต้องหาแยบคายให้ตัวจิตถอนตัวออกจากความร้ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงจะเป็นการพิจารณาที่ถูกต้องสมบูรณ์ หนูอยากจะถามว่า วิธีการดังที่กล่าวมาถูกต้องหรือไม่ในภาคการปฏิบัติ หนูขอหลวงตาเมตตาตอบคำถาม เจ้าค่ะ
|
คำตอบ |
 |
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2546 |
เรียนคุณพิม หลวงตาเมตตาตอบปัญหาธรรมของคุณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้
โยม : การทำสมถะภาวนา มีจุดมุ่งหมายทำให้ตัวจิตมีสติ มีความสงบ มีสมาธิ
หลวงตา : ถูกต้องแล้ว เอ้า ว่าไป เดี๋ยวเราลืมเราตอบเสียก่อน
โยม : เพื่อจะให้ได้ใช้ในการทำวิธีวิปัสสนาต่อไป การทำวิปัสสนามีจุดมุ่งหมายต้องการให้ตัวจิตเห็นรูปธรรม นามธรรม ตรงตามความเป็นจริง การเห็นรูปธรรมตรงตามความเป็นจริง คือเห็นมีความเป็นธาตุ มีความเป็นไตรลักษณ์ การเห็นนามธรรมตรงตามความเป็นจริง คือเห็นเป็นนามธาตุเห็นเป็นไตรลักษณ์ อันนี้ไม่ใช่จิต รูปธรรม นามธรรมก็มีแสดง เกิดแล้วก็ดับตามความเป็นจริง แม้จิตจะมาเห็นความจริง หรือจิตยังไม่มาเห็นความจริง ทั้งรูปธรรมและนามธรรมก็แสดงความจริงอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตมาเห็นความจริงอย่างนั้นแล้ว จิตจะมีความรู้ไม่เข้าไปยึดรูปธรรม นามธรรม แต่ในมุมกลับจิตก็ยังติดอยู่กับความรู้ที่ไปรู้ความจริง
หลวงตา : เอ๊ย ขี้เกียจตอบนะ
โยม : เดี๋ยวขออ่านให้จบก่อน ที่ไปรู้รูปธรรม นามธรรม ดังนั้นต้องหาแยบคายให้ตัวจิตถอนตัวออกจากความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น จึงจะเป็นการพิจารณาที่ถูกต้องสมบูรณ์ หนูอยากเรียนถามว่าวิธีการดังกล่าวมาถูกต้องหรือไม่ในภาคปฏิบัติ ขอหลวงตาเมตตาด้วยเจ้าค่ะ
หลวงตา : ตอนปลายนี้ถูกต้องอยู่ เข้าใจเหรอ ตอบเอาตอนปลายเลย ขี้เกียจตอบมาก มันไม่ค่อยจะคุ้มค่าว่างั้นเลย เอาอย่างนี้ดีกว่า ตอนปลายนี้ดีอยู่
(โปรดหาอ่านธรรมะหลวงตาเพิ่มเติมในหน้าธรรมะประจำวัน และหน้าหนังสือธรรมะได้ในเว็บไซด์นี้)
|
|
|